2.4 ปัญหาอื่น ๆ
2.41 ปัญหาเฉพาะบุคคล
คณิตศาตร์ไม่ได้สร้างปัญหาให้กับนักเรียน แต่นักเรียนที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์ จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองและสังคม มนุษย์เกิดมาก็ต้องคิด คิด... มี 2 คิด คือคิดเป็นระบบ กับคิดสะเปะสะปะ ถ้าคิดเป็นระบบจะพัฒนาได้ นักประดิษฐ์คนที่1 จะรู้ว่า เลขพจน์ที่ 5 คือเลขใดเช่น 1, 3, 5,7,... นักประดิษฐ์คนที่2 คนที่3 ก็ตอบเหมือนกัน เด็ก2 ขวบตอบไม่เหมือน อนาคตตัวเอง รู้คำนวนได้ ถ้าคิดสะเปะสะปะพัฒนาไม่ได้ นักเลงหวยคนที่ 1 ก็จะรู้ว่างวดหน้าออกเลขอะไร 406, ... นักเลงหวยคนที่2 คนที่ 3 ก็รู้ เด็ก 2ขวบก็รู้ แต่คนละเลขที่ไม่ซ้ำกัน เด็ก2ขวบอาจจะแม่นกว่า เลขเป็นระบบ เช่น 222 123 ไม่ชอบ เลขสะเปะสะปะ 260 159 OK อนาคตตัวเองหมอดูบอก เมื่อเป็นโรค หมอหลวงไม่เอา หมอผีไปหาบ่อย
2.42 ปัญหาที่เรียนรู้ได้
คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายหรือยาก?
ข้าพเจ้าให้ความเห็นว่า คณิตศาสตร์ยากสำหรับคนที่คิดสะเปะสะปะ แต่ง่ายสำหรับคนที่คิดเป็นระบบ เด็กเล็กที่รู้จำนวนและนับเลขได้ ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงก็สามารถสอนให้บวกลบคูณหารเบื้องต้นได้ บวกลบคูณหารเป็นพื้นฐานของคณิตศาสตร์ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปในทางก้าวหน้า มีจำนวนมากขึ้น ความซับซ้อนเรื่องบวกลบคูณหารก็เพิ่มขึ้น ระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คณิตศาสตร์มีระบบ จึงมีวิธีคิดหลายวิธีให้เลือก ดูเกมตารางการบวก เกมตารางการคูณแบบเสรีรมย์ ก็พอเห็นภาพคณิตศาสตร์สอนให้คนฉลาด คนฉลาดก็ต้องเลือกวิธีคิดเพียง 1วิธีจากหลายวิธีอย่าง เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อให้ ง่าย เร็วและถูกต้อง
ชั้นเชิงการเรียนที่ฉลาด
ต้องรู้ เช่น บวกคืออะไร? ลบคืออะไร? คูณคืออะไร? หารคืออะไร? เศษส่วนคืออะไร?
ต้องเข้าใจ เช่น ต้องมีมโนภาพหรือโครงคิด ในรูป ของจริง ภาพแสดง ตัวเลข
ต้องฝึกซ้อมบ่อยๆ การฝึกคือการเลือกใช้วิธีคิดวิธีหนึ่งได้อย่างเหมาะสมของเหตุการณ์ที่ต่างกัน
ชั้นเชิงการสอนให้เด็กฉลาดคิด
การสอนให้ทำตาม การบังคับ การให้รางวัล ไม่สามารถทำให้เด็กฉลาดได้ แต่การยั่วยุทำได้
ข้าพเจ้าจึงสร้างเกมให้เด็กเล่น เพราะต้องการสร้างโครงคิดคณิตศสตร์หรือมโนภาพคณิตศาสตร์ และ สร้างโครงปฏิบัติที่ฉลาดหรือปรัชญา ความฉลาดให้ติดตัวเด็กไปตลอด นั่นคือ
เชาวน์ปัญญา เด็กจะภูมิใจที่เล่นเกมชนะ เพราะต้องใช้เชาวน์ปัญญาเลือกวิธีคิดที่เหมาะสม
สมาธิ เด็กจะมีความสุข เพราะอยากเล่น มีความมุ่งมั่น สนุก ชอบ มีอารมณ์
ความอดทน ต้องยอมใช้เวลาในการฝึกแต่ละเกม ที่มีความยากง่ายไม่เท่ากัน
ทั้ง 6ข้อที่กล่าวถึงจะสร้างคนให้คิดเป็นระบบ มีกระบวนการคิดที่ดี ตรงข้าม คนที่คิดสะเปะสะปะ หรือไร้ระบบ ก็จะ ไม่อยากรู้ ไม่อยากเข้าใจ ไม่อยากฝึกซ้อม ไม่ใช้เชาวน์ปัญญา(ชอบเดา ชอบเสี่ยง) ไม่ใช้สมาธิ(โมโหง่าย หมดอารมณ์) ไม่อดทด(ใจร้อน ไม่อุทิศเวลา)
ถ้า ฝึกกระบวนการคิดตั้งแต่เล็ก โตขึ้นก็จะเป็นคนฉลาด แก้ปัญหาที่ซับซ้อนหลายชั้นได้ดี จะเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสังคม มีเสน่ห์ ในทางตรงข้าม คนที่คิดสะเปะสะปะ จะหมดเสน่ห์ ก็จะหลุดไปอีกโลกหนึ่ง คือคิดแบบไร้ระบบ สวนทางกับหลักวิทยาศาสตร์ ใช้ความรู้สึก ใช้การสังหรณ์ ชอบตั้งกฎเกณฑ์เอาเอง ชอบเสี่ยง แก้ปัญหาหลายชั้นไม่ได้ ใช้กำลังแทนสมอง มองโลกแง่ร้าย โมโหง่ายใจร้อน ผ่อนไม่เป็น เล่นอาฆาต วางมาดแน่ เห็นแก่ตัว มั่วนิ่มคำพูด จุดหมายไม่ชัด ปัดความรับผิด คิดแต่จะเอา กินเหล้าเมายา กล้าทำทุกสิ่ง จริงๆแล้วโอง่
จาก ธัญ เสรีรมย์